หัวข้อข่าว

MIT พัฒนาอิมแพลนท์ฝังใต้ผิวหนัง ช่วยรักษาภาวะน้ำตาลต่ำโดยอัตโนมัติในผู้ป่วยเบาหวาน

MIT

ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ พัฒนา MIT implant

ได้พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ชิ้นใหม่ ที่อาจพลิกโฉมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ไปตลอดกาล อุปกรณ์นี้คือเครื่องฝังใต้ผิวหนังขนาดเล็กที่สามารถปล่อยฮอร์โมนกลูคากอน ได้โดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างทันท่วงที

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง การฉีดอินซูลินมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดอาการสับสน ชัก หรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนอนหลับหรือในเด็กที่ไม่สามารถรับรู้อาการเตือนได้

อุปกรณ์ต้นแบบนี้มีขนาดประมาณเหรียญสิบบาท ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ ภายในประกอบไปด้วย

  • ที่เก็บยา ภายในอุปกรณ์มีช่องสำหรับเก็บกลูคากอนในรูปแบบผง ซึ่งมีความเสถียรและเก็บได้นานกว่ารูปแบบของเหลว
  • กลไกการทำงาน อุปกรณ์ถูกปิดผนึกด้วยโลหะผสมพิเศษ (นิกเกิล-ไทเทเนียม) ที่จะโค้งงอและเปิดออกเมื่อได้รับความร้อนถึง 40 องศาเซลเซียส
    การสั่งการ สามารถสั่งการได้ 2 วิธี คือ
  • สั่งการด้วยตนเอ: ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลสามารถใช้รีโมตสั่งการได้
  • สั่งการอัตโนมัติ: อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องตรวจน้ำตาลต่อเนื่อง (CGM) และเมื่อระดับน้ำตาลลดลงถึงจุดอันตราย เครื่องจะส่งสัญญาณวิทยุไปกระตุ้นให้อุปกรณ์ปล่อยยากลูคากอนออกมาทันที

ในการทดลองกับหนูที่เป็นเบาหวาน อุปกรณ์นี้สามารถฟื้นฟูระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับสู่ภาวะปกติได้ภายใน 10 นาที นอกจากนี้ยังพบว่าอุปกรณ์ยังคงทำงานได้ดีแม้ร่างกายจะสร้างพังผืดขึ้นมาล้อมรอบ ซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญของอุปกรณ์ฝังในร่างกาย

MIT implant

ทีมวิจัยกำลังพัฒนาให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นเป็น 1 ปีหรือมากกว่านั้น (จากเดิมที่ทดสอบได้นาน 4 สัปดาห์) และตั้งเป้าที่จะเริ่มทดลองในมนุษย์ภายใน 3 ปีข้างหน้า หากประสบความสำเร็จ เทคโนโลยีนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ป่วยเบาหวาน แต่ยังอาจถูกนำไปปรับใช้กับการให้ยาฉุกเฉินอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น อะดรีนาลีนสำหรับผู้ที่แพ้รุนแรง

Facebook

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *