หัวข้อข่าว

นักวิจัยจีนส่งข้อมูลปลอดภัยความเร็ว 1 Tbps ผ่านสายไฟเบอร์ส่งข้อมูลได้ไกล 1,200 กม.

1 Tbps

นักวิจัยชาวจีนสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการส่งข้อมูลเร็วถึง 1 เทราบิตต่อวินาที (Tbps) ผ่านสายใยแก้วนำแสงระยะทางกว่า 1,200 กิโลเมตร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสที่ฝังอยู่ในแสงโดยตรง ซึ่งถือเป็นก้าวกระโดดด้านความปลอดภัยของการสื่อสารผ่านเครือข่ายไฟเบอร์ออปติก

ระบบใหม่นี้มีชื่อว่า Integrated Encryption and Communication (IEAC) พัฒนาโดย ศาสตราจารย์ Lilin Yi จุดเด่นคือการเข้ารหัสที่ชั้นของแสง ไม่ใช่การใช้ซอฟต์แวร์แบบเดิมอย่าง TLS หรือ IPsec ซึ่งช่วยป้องกันการดักฟังได้เกือบสมบูรณ์แบบ

เทคนิคนี้เรียกว่า IEAC พัฒนาโดยศาสตราจารย์ Lilin Yi จากมหาวิทยาลัย Shanghai Jiao Tong แตกต่างจากวิธีเดิมๆ ที่เข้ารหัสที่ซอฟต์แวร์ แต่ IEAC จะเข้ารหัสที่ตัวสัญญาณแสงเอง (ทำได้ไงวะนั่น) ทำให้การดักฟังข้อมูลแทบเป็นไปไม่ได้

ขนาดรูปเรื่อง web 1 22

หัวใจสำคัญคือการใช้ AI ที่เรียกว่า GCS สร้างรูปแบบแสงเฉพาะสำหรับการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง เปรียบเสมือนลายนิ้วมือแสงที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา ทำให้ผู้ดักฟังไม่สามารถถอดรหัสได้

เทคโนโลยีเบื้องหลังคือเทคนิค AI ที่ชื่อว่า geometric constellation shaping (GCS) ทำให้ทุกข้อมูลที่ส่งออกไปมีลักษณะเฉพาะเหมือนลายนิ้วมือของแสง และดูเหมือน “คลื่นรบกวน” ต่อผู้ที่พยายามดักฟัง

ผลการทดสอบ:

ความเร็วสุทธิ: 1 Tbps

อัตราความผิดพลาด: ต่ำกว่า 2×10⁻²

ใช้ได้กับโครงข่ายปัจจุบัน ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหญ่ แค่ปรับเฟิร์มแวร์ก็ใช้ได้

ที่น่าทึ่งคือ ระบบ IEAC นี้สามารถใช้กับโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ได้ เพียงแค่อัปเกรดเฟิร์มแวร์ ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมดเหมือนเทคโนโลยีอื่น นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับความปลอดภัยของข้อมูลในยุค AI และเครือข่าย 6G ในอนาคต

tags :techspot

Facebook

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *