ครั้งแรกของโลก! ญี่ปุ่นพัฒนาแบตเตอรี่จาก กากยูเรเนียม ได้สำเร็จ พร้อมชาร์จซ้ำได้ เปิดประตูใหม่สู่การรีไซเคลพลังงานนิวเคลียร์อย่างปลอดภัยและใช้งานได้จริง
JAEA สถาบันพลังงานปรมาณูแห่งชาติญี่ปุ่น
โดยผลงานชิ้นนี้มาจาก สถาบันพลังงานปรมาณูแห่งชาติญี่ปุ่น Japan Atomic Energy Agency ซึ่งสามารถสร้างแบตเตอรี่ขนาดเล็ก (ประมาณ 10×5 ซม.) ที่จ่ายไฟฟ้าได้ราว 1.3 โวลต์ ใกล้เคียงกับถ่าน AA ที่เราใช้กันทั่วไป (1.5V) และ ชาร์จซ้ำได้ 10 ครั้ง
เบื้องหลังเทคโนโลยี
- เปลี่ยนแคโทดจากลิเทียมมาเป็น “ธาตุเหล็ก”
- ใช้ “กากยูเรเนียม” ที่เหลือจากกระบวนการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ในรูปแบบอิเล็กโทรไลต์
- กลายเป็นแบตเตอรี่ชาร์จได้ที่ใช้ทรัพยากรเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์
- แม้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่มีศักยภาพสูงในอนาคต
ทำไมถึงสำคัญ?
ญี่ปุ่นมี กากยูเรเนียมกว่า 16,000 ตัน และทั่วโลกสะสมไว้มากกว่า 1.6 ล้านตัน แทนที่จะฝังกลบซึ่งเสี่ยงต่อการปนเปื้อนในระยะยาว การนำกากเหล่านี้มาใช้สร้างพลังงาน เป็นอีกก้าวที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
แม้รอบชาร์จและแรงดันไฟฟ้ายังต่ำเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ทั่วไป แต่หากพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ก็อาจกลายเป็นทางเลือกใหม่ของการจัดเก็บพลังงานที่ทั้งรีไซเคิลได้และปลอดภัย
เทคโนโลยีนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว แต่ยังไม่เผยแพร่ในวารสารวิชาการใด
tags : spectrum.ieee.org, TNN