หัวข้อข่าว

เค้กหุ่นยนต์ (Robotic cake) เค้กหุ่นยนต์ที่มีแบตเตอรี่กินได้ – และรสชาติดีด้วย

WEB NEW1 07.1

ทีมนักวิจัยนานาชาติสุดล้ำได้ผสมผสานวิทยาการหุ่นยนต์กับศาสตร์การทำอาหาร สร้างสรรค์ “เค้กหลายชั้น” ที่มีชิ้นส่วนกินได้ รวมถึง แบตเตอรี่ชาร์จไฟได้ที่กินได้เป็นครั้งแรกของโลก (แน่นอนว่า “ชาร์จไฟได้” แค่จนกว่าจะถูกกินเข้าไป)

โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจาก École Polytechnique Fédérale de Lausanne (EPFL) ของสวิตเซอร์แลนด์ กับ Italian Institute of Technology (IIT) ของอิตาลี พร้อมเชฟขนมและนักวิทยาศาสตร์อาหาร สร้างสรรค์ “RoboCake” ซึ่งจัดแสดงอยู่ในงาน Expo 2025 ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น

RoboCake

แต่เค้กนี้ไม่ได้ธรรมดา เพราะด้านบนของเค้กมี หุ่นยนต์รูปหมีขนาดเล็กที่กินได้ รสคล้ายเยลลี่ทับทิม และยังสามารถขยับแขนขาและศีรษะได้ด้วยระบบลมภายใน

  • “พวกมันทำจากเจลาติน น้ำเชื่อม และสีผสมอาหาร”
    — โบเคออน ควัก นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการระบบอัจฉริยะของ EPFL กล่าว

ทางฝั่ง IIT ก็ไม่ยอมน้อยหน้า โดยได้สร้าง แบตเตอรี่ชาร์จไฟได้ที่กินได้จริงเป็นครั้งแรกของโลก ใช้ส่วนผสมจากวิตามิน B2 เควอซิทิน (quercetin) ถ่านกัมมันต์ และช็อกโกแลต

  • “แบตเตอรี่เหล่านี้ปลอดภัยต่อการบริโภค และสามารถใช้จุดเทียน LED บนหน้าเค้กได้ด้วย”
    — วาเลริโอ กัลลี นักศึกษาปริญญาเอกจาก IIT กล่าว
  • “รสชาติแรกที่รู้สึกคือช็อกโกแลตเข้มข้น ตามด้วยรสเปรี้ยวเล็กน้อยจากอิเล็กโทรไลต์ที่กินได้ ซึ่งจะอยู่แค่ไม่กี่วินาที”
ขนาดรูปเรื่อง web 1 13

แบตเตอรี่ลักษณะเป็นแผ่นบางคล้ายเวเฟอร์ช็อกโกแลต ดูน่ารับประทานพอสมควร นักวิจัยเล็งเห็นว่า คนทั่วไปอาจรู้สึกตะขิดตะขวงใจกับการกินชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จึงตั้งคำถามว่า “ถ้าชิ้นส่วนเหล่านี้อร่อยล่ะ?” – เพื่อเปลี่ยนประสบการณ์การกินให้กลายเป็นความเพลิดเพลิน

  • “ความท้าทายของเราคือการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของ EPFL และ IIT ให้น่าสนใจ ด้วยสิ่งที่เราถนัดที่สุด นั่นคือ ความอร่อย”
    — ฌูเลียง บูตองเนต์ อาจารย์อาวุโสจากโรงเรียนการโรงแรม EHL ของสวิตเซอร์แลนด์ และเจ้าของรางวัล MOF ด้านขนมและลูกกวาด

โปรเจกต์ RoboCake นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ RoboFood มูลค่า 3.5 ล้านยูโร (ประมาณ 3.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มีเป้าหมายจะรวมโลกแห่งหุ่นยนต์และอาหารเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ไม่ใช่แค่เรื่องความแปลกใหม่

ถึงแม้ “อาหารอัจฉริยะ” ยังเป็นแนวคิดที่ใหม่มากในปัจจุบัน แต่นักวิจัยก็วางแผนขยายการใช้งานไปยังด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น

  • โภชนาการฉุกเฉินในพื้นที่ขาดแคลน
  • การส่งยาสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการกลืน
  • อาหารสำหรับสัตว์
  • การตรวจสอบความสดของอาหารด้วยเซ็นเซอร์ที่สามารถกินได้

“หุ่นยนต์กินได้สามารถส่งอาหารไปยังพื้นที่อันตราย ส่งยาในวิธีแปลกใหม่ หรือใช้ตรวจวัดความสดของอาหารก็ยังได้”
— ดาริโอ ฟลอเรอาโน นักวิจัย EPFL กล่าว

ขนาดรูปเรื่อง web 3 4

“โครงการนี้ช่วยเปิดแนวทางใหม่ในการสร้างประสบการณ์การกินที่ทั้งสนุก โต้ตอบได้ และเตือนเราว่าอาหารคือทรัพยากรมีค่า – และอาจช่วยลดปัญหาการกินมากเกินไปด้วย”

tags : EPFL

Facebook

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *