หัวข้อข่าว

สำเร็จแล้ว! จีนอวดแบตใหม่ แบตเตอรี่ขนาดเล็กจิ๋ว BV100 ไม่ต้องชาร์จ ใช้ได้นาน 50 ปี

BV100

วันก่อนเกาหลีเพิ่งวิจัยเสร็จ แต่จีน เอาเข้าโรงงานผลิตแล้ว…. แบตเตอรี่ขนาดเล็กจิ๋ว BV100

บริษัทจีนชื่อ Betavolt New Energy Technology พัฒนา แบตเตอรี่ขนาดเล็กจิ๋ว BV1oo ประมาณเหรียญบาทบ้านเรา แต่ที่พิเศษคือ มันใช้พลังงานนิวเคลียร์ และมีอายุใช้งานยาวนานถึง 50 ปี สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องชาร์จ

หลักการทำงานคือ ข้างในแบตเตอรี่จิ๋วนี้ มีธาตุกัมมันตรังสีที่เรียกว่านิกเกิล-63 โดยเป็นไอโซโทป ที่ไม่เสถียร ของนิกเกิล มันสลายตัวโดยการปล่อย รังสีบีตา (Beta radiation) ซึ่งเป็นอิเล็กตรอนพลังงานค่อนข้างต่ำ อยู่ในปริมาณน้อยมากๆ ซึ่งธาตุนี้จะค่อยๆ สลายตัวตามธรรมชาติ และปล่อยพลังงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ

1

แบตเตอรี่นี้ยังใช้แผ่นเพชรสังเคราะห์ที่บางมากๆ เพื่อมาประกบกับแผ่นนิกเกิล-63 เอาไว้ เจ้าแผ่นเพชรนี้จะทำหน้าที่เหมือนแผงโซลาร์เซลล์ แต่แทนที่จะรับแสงอาทิตย์ มันจะรับพลังงานจากการสลายตัวของนิกเกิล-63 แล้วเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งเทคโนโลยีแบบนี้เรียกว่าเบตาโวลตาอิก (Betavoltaic).

บริษัทเคลมว่าปลอดภัยมากๆ เพราะใช้ธาตุกัมมันตรังสีในปริมาณน้อย และการสลายตัวแบบนี้ไม่ได้ปล่อยรังสีอันตรายแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เมื่อนิกเกิล-63 สลายตัวไปเรื่อยๆ จนหมด มันจะกลายเป็นทองแดงธรรมดา ไม่เหมือนแบตเตอรี่เคมีที่หมดอายุแล้วเป็นขยะอันตราย ต้องนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี

ในรุ่นรุ่นปัจจุบัน (BV1oo) กำลังไฟยังไม่สูงมากนัก โดยอยู่ที่ 3V ซึ่งยังไม่พอสำหรับใช้ในสมาร์ทโฟนหรือโน้ตบุ๊กโดยตรง แต่บริษัทบอกว่าสามารถนำแบตฯ หลายๆ ก้อนมาต่อกันเพื่อเพิ่มกำลังไฟได้ เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่กินไฟน้อยแต่ต้องการทำงานนานๆ เช่น เซนเซอร์ต่างๆ หรืออุปกรณ์การแพทย์ขนาดเล็ก

2

บริษัทมีแผนจะเปิดตัวรุ่นที่ทรงพลังกว่าเดิม คือ 1 วัตต์ ภายในปีนี้ ซึ่งถ้าทำได้จริง จะเปิดวาปสู่การใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เช่น

  • 1.โดรน บินได้ต่อเนื่องเป็นวันๆ หรือเป็นเดือน โดยไม่ต้องลงจอดเพื่อชาร์จแบตฯ
  • 2.อุปกรณ์การแพทย์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ ที่ใส่ครั้งเดียวอยู่ได้ตลอดชีวิตผู้ป่วย ไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนแบตฯ บ่อยๆ
  • 3.สมาร์ทโฟน/อุปกรณ์พกพา ซึ่งอาจจะยังไม่ถึงขั้นใช้แทนแบตฯ เดิมได้ทันที แต่อาจใช้เป็นแหล่งพลังงานสำรอง หรือใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องชาร์จบ่อยๆ
  • 4.หุ่นยนต์จิ๋ว, เซนเซอร์ในที่ห่างไกล, อุปกรณ์ AI, ระบบในยานอวกาศ ที่ต้องการแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้และอยู่ได้นานมากๆ

tags : techspot.com

Facebook

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *