นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ “น้ำแข็งในอวกาศ” อาจไม่ใช่แค่ของแข็งเย็นเฉียบที่ล่องลอยในความว่างเปล่า แต่กลับมีโครงสร้างระดับจิ๋วที่ซับซ้อน ซ่อนอยู่ภายใต้ความไร้ระเบียบ นี่คืออีกหนึ่งก้าวสำคัญที่อาจเปลี่ยนมุมมองต่อวัตถุดิบจากอวกาศในอนาคต
เมื่อ “น้ำแข็ง” ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
แม้บนโลก น้ำแข็งมักก่อตัวเป็นผลึกเรขาคณิตสวยงามจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แต่ในอวกาศที่หนาวจัดระดับ -100 ถึง -200°C การเรียงตัวของโมเลกุลน้ำแทบไม่เกิดขึ้นเลย ทำให้น้ำแข็งในอวกาศมีสภาพเป็น “อสัณฐาน” (Amorphous) ไม่มีรูปแบบแน่นอน
ค้นพบโดยนักวิจัยจาก UCL และเคมบริดจ์
ไมเคิล บี. เดวิส (Michael B. Davis) และทีมจาก University College London (UCL) และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ศึกษาตัวอย่างน้ำแข็งจากดวงจันทร์ “เอนเซลาดัส” ของดาวเสาร์ ก่อนจะทดลองในห้องแล็บจำลองสภาพแวดล้อมในอวกาศ พบว่าน้ำแข็งบางส่วนแม้จะไร้ระเบียบ แต่กลับมีผลึกขนาดนาโนเมตรซ่อนอยู่
ผลึกเล็กขนาด 3 นาโนเมตร ปรากฏในน้ำแข็งที่ดูเหมือนไร้ระเบียบ
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.ฟการใช้รังสีเอกซ์ยิงผ่านน้ำแข็งและการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ ช่วยยืนยันว่าในความไร้รูปแบบ ก็ยังมี “ความจำของโครงสร้างเดิม” แฝงอยู่ และเมื่อให้น้ำแข็งอสัณฐานตกผลึกใหม่ รูปแบบผลึกก็ขึ้นอยู่กับวิธีที่มันถูกสร้างขึ้นในตอนแรก
นอกจากเป็นแหล่งน้ำในอนาคต น้ำแข็งในอวกาศยังมีศักยภาพในการใช้เป็นเกราะป้องกันรังสีคอสมิก และอาจถูกแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานอวกาศด้วยการสกัดไฮโดรเจนและออกซิเจนออกจากโมเลกุลน้ำ
ที่สำคัญการค้นพบนี้ยังเชื่อมโยงไปถึงสมมติฐานว่าชีวิตบนโลกอาจมีต้นกำเนิดจาก “น้ำแข็งในอวกาศ” ที่บรรจุสารอินทรีย์พื้นฐานไว้ภายใน หากพื้นที่ว่างในโครงสร้างน้ำแข็งมากพอสำหรับให้สารเหล่านี้แฝงตัวอยู่
เดวิสกล่าวว่า แม้น้ำแข็งบางชนิดจะมีผลึกแน่นหนาเกินไปสำหรับการเก็บสารชีวภาพ แต่ในบริเวณที่ยังคงเป็นอสัณฐาน ก็ยังมีโอกาสสูงที่สารอินทรีย์ของชีวิตจะถูกเก็บรักษาไว้ และเดินทางผ่านจักรวาลมายังโลก
tags : scitechdaily, TNN