สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ (National Institute of Standards and Technology) เผยความก้าวหน้าครั้งใหม่ด้านการวัดเวลา ด้วยการสร้าง “นาฬิกาอะตอม” รุ่นล่าสุด ที่มีความแม่นยำที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ความคลาดเคลื่อนเพียง 0.00000000001736 วินาทีต่อปี หรือแม่นยำกว่าเดิมถึง 41%
ควบคู่กับ อะตอมแมกนีเซียม (Magnesium) แทนที่ซีเซียม-133 (Cesium-133) ซึ่งเป็นมาตรฐานของ “หนึ่งวินาที” ที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 1967 โดยการสั่นของอะตอมอลูมิเนียมมีความเสถียรสูง และทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี เช่น อุณหภูมิและสนามแม่เหล็ก ขณะที่แมกนีเซียมสามารถควบคุมด้วยแสงเลเซอร์ได้อย่างแม่นยำ
แม้จะมีศักยภาพเหนือชั้น แต่นาฬิกานี้ยังไม่พร้อมใช้ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากต้องควบคุมสภาพแวดล้อมขั้นสูง โดยอะตอมจะต้องลอยอยู่ในสุญญากาศ ซึ่งวัสดุอย่างเหล็กกล้าส่งผลกระทบต่อคุณภาพ เนื่องจากปล่อยไฮโดรเจนออกมาชนกับไอออนที่ลอยอยู่ นักวิจัยจึงแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนวัสดุภายในเป็น “ไททาเนียม” ซึ่งปล่อยก๊าซน้อยกว่า ทำให้นาฬิกาทำงานได้ต่อเนื่องยาวนานหลายวันโดยไม่ต้องชาร์จอะตอมใหม่
ความแม่นยำระดับนี้อาจดูเกินความจำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ระบบนำทางผ่านดาวเทียม (GPS) การวิจัยควอนตัม และแม้แต่การสำรวจทฤษฎีใหม่ของกาลอวกาศและแรงโน้มถ่วง
การวัดเวลาที่แม่นยำขึ้นอีกระดับอาจเปลี่ยนวิธีที่เราเข้าใจจักรวาลได้อย่างแท้จริง
tags : gov