หัวข้อข่าว

“ดวงจันทร์ไททัน” อาจมีสิ่งมีชีวิตแต่มวลน้อยจนเท่าพุดเดิ้ลจิ๋ว

Titan (moon)

แม้จะดูเหมือนเป็นหนึ่งในความหวังใหม่ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก แต่ผลการวิจัยล่าสุดกลับเผยข้อมูลที่อาจทำให้หลายคนแอบผิดหวังเล็กน้อย  เพราะแม้ “ไททัน” Titan moon ดวงจันทร์ขนาดยักษ์ของดาวเสาร์ อาจมีสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรใต้ดินของมันจริง แต่ “ชีวมวล” หรือมวลรวมของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจมีน้ำหนักไม่เกินสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ลขนาดเล็กเพียงตัวเดียว

ดวงจันทร์ไททัน" อาจมีสิ่งมีชีวิตแต่มวลน้อยจนเท่าพุดเดิ้ลจิ๋ว

มหาสมุทรใต้เปลือกน้ำแข็ง กับความเป็นไปได้ของชีวิต

แอนโทนิน แอฟโฟลเดอร์ นักชีววิทยาวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา เผยว่า ไททันมีองค์ประกอบหลายอย่างที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำมีเทน ทะเลสาบไฮโดรคาร์บอน หรือชั้นบรรยากาศหนาทึบที่เต็มไปด้วยโมเลกุลอินทรีย์

ใต้พื้นผิวของมันยังมี “มหาสมุทรน้ำเค็ม” ซ่อนอยู่ ซึ่งมีโครงสร้างซับซ้อนคล้ายลูกอมห้าชั้น ตั้งแต่แกนหินแข็ง น้ำแข็งแรงดันสูง มหาสมุทรใต้ดิน และเปลือกน้ำแข็งหนาถึง 100 กิโลเมตร

โมเลกุลอินทรีย์จากชั้นบรรยากาศอาจตกลงบนพื้นผิว และซึมลงสู่มหาสมุทรใต้ดินได้จากรอยแตกที่เกิดจากการชนของอุกกาบาต หรืออาจผุดขึ้นมาจากแกนของไททันเอง

บน Titan (moon) มีพลังงานพอให้ชีวิตแต่อาจเบาบางกว่าที่คิด

นักวิจัยได้จำลองสภาพแวดล้อมและพลังงานทางชีวภาพที่อาจเกิดขึ้น หากมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่นแบคทีเรียแบบหมัก (fermenting cell) อยู่ในน้ำเหล่านี้ โดยเน้นไปที่การใช้ไกลซีน กรดอะมิโนพื้นฐาน เป็นแหล่งพลังงาน

Titan (moon)

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์กลับชี้ว่า ระบบนิเวศที่จำลองขึ้น อาจมีพลังงานจำกัดมากจนรองรับสิ่งมีชีวิตได้เพียงไม่ถึง 1 เซลล์ต่อปริมาตรน้ำ 1 ลิตร หรือคิดเป็นมวลรวมทั้งหมดเพียงไม่กี่กิโลกรัมเท่านั้น น้อยกว่าความหนักของมนุษย์หนึ่งคน หรือเทียบเท่ากับสุนัขขนาดเล็กหนึ่งตัว

แม้ฟังดูน่าหดหู่ แต่งานวิจัยนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยปรับความคาดหวังในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

“สิ่งมีชีวิตนอกโลกอาจมีอยู่จริง แต่บางทีพวกมันก็เล็กมาก เงียบมาก และไม่ง่ายที่จะค้นพบ”  Antonin Affholder กล่าว

การศึกษานี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร The Planetary Science Journal และเป็นอีกหนึ่งเสียงสะท้อนที่เตือนเราว่า แม้จักรวาลจะเต็มไปด้วยโอกาส แต่มันก็ยังเต็มไปด้วยข้อจำกัดเช่นเดียวกัน

Facebook

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *