หัวข้อข่าว

นักวิทย์อังกฤษใช้แบคทีเรียแปลงขวดพลาสติกเป็น “พาราเซตามอล”

E.coli

พลาสติกที่เคยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอาจกลายเป็นคำตอบของการรักษาในอนาคต เมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ประเทศอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีเปลี่ยน “ขยะขวดน้ำ” ให้กลายเป็น “ยาพาราเซตามอล” ได้สำเร็จภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง  แถมยังไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง ไม่ปล่อยคาร์บอน และทำได้ที่อุณหภูมิห้อง

เบื้องหลังนวัตกรรม เมื่อแบคทีเรียกลายเป็นนักเคมี

หัวใจของนวัตกรรมนี้คือการใช้แบคทีเรีย E. coli ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม ให้สามารถย่อยสลายพลาสติก PET (ที่ใช้ทำขวดน้ำและบรรจุภัณฑ์อาหาร) จนได้สารตั้งต้นชื่อว่า “กรดเทเรฟทาลิก”

E.coli 3

จากนั้นผ่านกระบวนการเคมีที่เรียกว่า Lossen rearrangement สารดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็น PABA (para-aminobenzoic acid) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่นำไปสู่การสร้างยาพาราเซตามอล ผ่านเส้นทางเมตาบอลิซึมที่ทีมวิจัยออกแบบขึ้นภายในแบคทีเรีย E. coli ตัวเดิม

ผลลัพธ์คืออัตราการเปลี่ยนพลาสติกเป็นยาที่สูงถึง 90% ในห้องทดลอง ถือเป็นความสำเร็จระดับต้นแบบที่น่าทึ่ง

แม้เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่ก็ได้รับความสนใจจากภาคเอกชนอย่างจริงจัง โดยศาสตราจารย์ Stephen Wallace หัวหน้าทีมวิจัยยืนยันว่ากำลังร่วมมือกับบริษัทเวชภัณฑ์ระดับโลกอย่าง AstraZeneca เพื่อขยายผลสู่อุตสาหกรรม

E.coli 2

“เรากำลังเชื่อมโยงบริษัทชั้นนำระดับโลกเข้ากับนักวิจัยของเรา เพื่อเปลี่ยนงานวิจัยล้ำหน้าให้กลายเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนโลกได้จริง” Ian Hatch หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษา Edinburgh Innovations กล่าว

การใช้แบคทีเรีย E.coli อาจพลิกโฉมอุตสาหกรรมยาทั่วโลก

หากเทคโนโลยีนี้ได้รับการต่อยอดสู่การผลิตจริงในอนาคต มันอาจพลิกโฉมอุตสาหกรรมยาทั่วโลก ช่วยลดการใช้ทรัพยากรดั้งเดิมอย่างน้ำมัน ลดปัญหาขยะพลาสติก และเพิ่มทางเลือกในการผลิตยาแบบยั่งยืน

ใครจะคิดว่าขวดน้ำที่เราเคยทิ้ง อาจกลายเป็น “ยาพาราฯ” ที่รักษาเราในวันป่วยได้จริง

tags : newatlas

Facebook

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *